เมนู

อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ 7



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ
กตานํ กมฺมานํ
ดังนี้
ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง
วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์
เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย
พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่
ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน
พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์
อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น
ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-
ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส
ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน

สวนแล้วเสด็จเข้าไปยังเมืองราชคฤห์ ได้ทรง
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสุเนตตะ ผู้มีตน
อันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วย
หิริ ยินดีในอาหาร เฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จ
ลงจากคอช้าง แล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง
พระผู้เป็นเจ้า แล้วจับบาตรของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ยกขึ้นสูงแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก
ทรงพระศรวลหลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความ
กรุณาว่าเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด(ตก)
อยู่ในนรก ได้เสวยผลอันเผ็ดร้อน ของกรรม
อันหยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาล ทำบาป
หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่
ในนรก 84,000 ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำ
บ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง
เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ท่านบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรก หลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย
ฤๅษี ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย ผู้มีวัตร

อันงาม ได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็น
ปานนี้ และเปรตผู้เป็นพระราชโอรสเสวยทุกข์
เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นหลายปี จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจความมัวเมาในความเป็นใหญ่
อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่
เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อน
น้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระ-
ธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญ
ในปัจจุบัน เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้า
ถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตานํ กมฺมานํ วิปาโก
มถเย มนํ
ความว่า ผลแห่งอกุศลกรรมที่พระราชโอรสกระทำไว้
ในชาติก่อน เกิดเป็นผลอันยิ่ง ย่ำยี ครอบงำ จิตของคนอันธพาล อธิบายว่า
พึงยังประโยชน์ของตนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งจะทำความพินาศให้แก่
คนเหล่าอื่น.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงผลแห่งอกุศลกรรมนั้น อันเป็นเครื่องย่ำยี
จิตพร้อมด้วยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูเป ได้แก่ เพราะเหตุแห่งรูป อธิบาย
ว่า เพราะได้รูปารมณ์ตามที่ปรารถนา ที่น่าชอบใจเป็นนิมิตร.
แม้ในบทว่า สทฺเท ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

เมื่อจะทรงแสดงกำหนดความที่กล่าวแล้วโดยทั่วไป โดย
เป็นความไม่ทั่วไปอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า การฟ้อน การขับ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ซึ่งความยินดีในกาม.
บทว่า ขิฑฺฑํ ได้แก่ การเล่นด้วยสหายเป็นต้น. บทว่า คิริพฺพชํ
ได้แก่ กรุงราชคฤห์.
บทว่า อิสึ ความว่า ชื่อว่า ฤๅษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นจ้น อันเป็นของพระอเสกขะ. บทว่า
สุเนตฺตํ ได้แก่ อตฺตทนฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตอันฝึกแล้วด้วยการฝึกอย่างสูง.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วย
พระอรหัตตผล. บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตคเต รตํ ได้แก่ ผู้ยินดี คือ สันโดษ
ในอาหารที่อยู่ในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร อันได้มาด้วยการ
แสวงหา คือ ด้วยการภิกษาจาร.
บทว่า ลทฺธา ภนฺเตติ จาพฺรวิ ความว่า ตรัสเพื่อให้เกิด
ความคุ้นเคยว่า ท่านขอรับ ท่านภิกษาบ้างไหม. บทว่า อุจฺจํ
ปคฺคยฺห
ได้แก่ ยกบาตรขึ้นให้สูง.
บทว่า ถณฺฑิเล ปตฺตํ ภินฺทิตฺวา ได้แก่ ทำลายบาตร
ให้แตกโยนไปในภูมิประเทศอันแข็ง. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ หลีกไป
หน่อยหนึ่ง. ก็พระราชโอรสเมื่อจะหลีกไปหน่อยหนึ่ง. ก็พระ-
ราชโอรสเมื่อจะหลีกไปจึงกล่าวว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ
ดูก่อนภิกษุ ท่านจักทำอะไรเราดังนี้ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แลดู

ด้วยความกรุณาว่า คนอันธพาลได้ทำความพินาศอันใหญ่หลวง
ให้แก่ตน โดยเหตุอันไม่สมควรเลย.
บทว่า ผรุสสฺส แปลว่า หยาบช้า. บทว่า กฏโก แปลว่า
ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ยํ โยควิปากํ แปลว่า วิบากใด. บทว่า
สมปฺปิโต ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.
บทว่า ฉเฬว จตุรสีติ วสฺสานิ นหุตานิ จ ความว่า นอนหงาย
นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นบนหัวห้อยลง
และยืนอยู่ตามเดิม อย่างละ 84,000 ปี รวมเป็น 6 ครั้ง ๆ ละ
84,000 ปี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระราชโอรสผู้เป็นอันธพาล หมกไหม้
ในนรก คือนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย
นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นข้างบนหัวลงล่าง
และยืนอยู่ตามปกติ สิ้นกาลนาน.

ก็เพราะเหตุที่มีหลายหมื่นปี ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นหุตานิ
หลายหมื่นปี. บทว่า ภุสํ ทุกฺขํ นิคจฺฉิตฺโถ ความว่า ประสบทุกข์
อย่างยิ่ง.
บทว่า ปูคานิ ได้แก่ ในการประชุมแห่งปี แต่ในคาถานี้
และในคาถาต้น พึงเห็นว่า เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถแห่งอัจจันต-
สังโยคแปลว่า ตลอด.
บทว่า เอตาทิส คือเห็นปานนั้น. บทว่า กฏกํ ได้แก่ ทุกข์
หนักนี้ เป็นการแสดงออกแห่ง นปุํสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า

นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า บุคคล
ผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย คือ รุกรานฤๅษี ผู้ไม่
ประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย คือ ผู้มีวัตรดี ย่อมประสบทุกข์
เห็นปานนี้ อันเผ็ดร้อนยิ่งนัก.
บท โส ได้แก่ เปรตราชบุตรนั้น. บทว่า ตตฺถ คือ ในนรก.
บทว่า เวทยิตฺวา แปลว่า เสวย. บทว่า นาม ได้แก่ โดยความเป็น
ผู้ปรากฏโดยแจ้งชัด. บทว่า ตโต จุโต ได้แก่ จุติจากนรก. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้มหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น
เกิดความสังเวช ด้วยกถาว่าด้วยราชบุตรเปรตอย่างนี้แล้ว จึง
ประกาศสัจจะยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมาก
บรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ 7

8. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ 1



ว่าด้วยด่าพระตกนรกกินของไม่สะอาด



พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-
[128] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่.

เปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา
ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ
ทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า :-
ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ ได้
ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า